Tags: ท่อดำ , ท่อเหล็กดำ , ท่อเหล็กประปา , ข้อต่อเหล็ก , วาล์วน้ำประปา , ข้อต่อสแตนเลส , หน้าแปลนเหล็ก , ข้อต่อสแตนเลส , ข้องอ 90 องศา , ข้อต่อประปา , ท่อประปาเหล็ก , วาล์ว KITZ , วาล์วทองเหลือง , ท่อชุบกัลวาไนซ์ , อุปกรณ์ท่อประปา
การประกอบชิ้นส่วนท่อ: การประกอบท่อภาคสนามและการประกอบท่อในห้องปฏิบัติงาน

การประกอบชิ้นส่วนท่อ: การประกอบท่อภาคสนามและการประกอบท่อในห้องปฏิบัติงาน

อุตสาหกรรมก่อสร้างนั้นประกอบไปด้วยโครงการต่างๆมากมาย เช่น โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม โรงงานเคมี และโรงไฟฟ้า การก่อสร้างเหล่านี้ต้องมีการเดินท่อที่แข็งแกร่งเพื่อเชื่อมต่ออุปกรณ์หลายชิ้นเข้าด้วยกันและส่งผ่านของเหลวและก๊าซ ในกรณีนี้การประกอบท่อสามารถทำได้ด้วย 2 วิธีหลักคือ การประกอบภาคสนามและการประกอบในห้องปฏิบัติงาน หรือจะผสานทั้ง 2 วิธีก็ได้เช่นกัน

การประกอบท่อภาคสนาม
การประกอบท่อภาคสนามนั้นมีความหมายตรงตัว ซึ่งก็คือการนำท่อไปประกอบที่บริเวณก่อสร้างจริง โดยสามารถประกอบท่อ ณ จุดที่ต้องใช้งานโดยตรง หรือในบริเวณชั่วคราวที่จัดเตรียมไว้สำหรับการประกอบท่อ

ประโยชน์ของการประกอบท่อภาคสนาม
▪ ขนย้ายเพียงวัตถุดิบที่จำเป็น (ท่อ ข้อต่อ วาล์ว และอื่นๆ) ไปยังสถานที่จริงเท่านั้น
▪ ไม่เสียเวลาในการจัดวาง มัด หรือยึดชิ้นส่วนท่อที่ถูกประกอบไว้ล่วงหน้าเพื่อขนย้ายไปยังบริเวณก่อสร้าง
▪ ลดความเสี่ยงการเกิดความเสียหายต่อชิ้นส่วนท่อ
▪ สำหรับงานปรับปรุงท่อ การเดินท่อภาคสนามโดยอ้างอิงจากเอกสารรายละเอียดของพื้นที่ร่วมกับท่อและอุปกรณ์ที่มีอยู่จริงมักมีประสิทธิภาพมากกว่าการพยายามประกอบท่อล่วงหน้าโดยอ้างอิงจากขนาดซึ่งได้มาจากการคาดคะเน

ข้อเสียของการประกอบท่อภาคสนาม
▪ สภาพอากาศคืออุปสรรคใหญ่ที่สุด
▪ จำเป็นต้องอุ่นชิ้นงานล่วงหน้าสำหรับการเชื่อมเหล็กในสภาพอากาศที่ไม่สามารถควบคุมได้และอุณหภูมิโดยรอบต่ำกว่า 0 องศาฟาเรนไฮต์ (-17 องศาเซลเซียส)
▪ ในกรณีติดตั้งท่อใหม่ซึ่งไม่ใช่การปรับปรุงการเดินท่อที่ทรุดโทรมแต่มีท่อและอุปกรณ์อยู่แล้ว หากต้องประกอบท่อด้วยวิธีการเชื่อมต่อชน (Butt Weld) อาจมีราคาแพงกว่าและไม่มีประสิทธิภาพเท่าการประกอบล่วงหน้าในห้องปฏิบัติงาน
▪ ข้อกังวลด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพการทำงานหากต้องประกอบท่อในโรงงานที่เครื่องจักรต่างๆกำลังเดินเครื่องอยู่  

การประกอบท่อในห้องปฏิบัติงาน
โดยทั่วไปแล้ว การประกอบท่อในห้องปฏิบัติงานคือการนำท่อ ข้อต่อ และชิ้นส่วนต่างๆมาเชื่อมเข้าด้วยกันให้กลายเป็นโครงสร้างที่ต้องการในโรงงานของผู้ผลิตท่อเอง หลังจากนั้นส่วนต่างๆของท่อจะถูกติดฉลากและขนส่งไปยังสถานที่ใช้งานเพื่อการติดตั้ง โครงสร้างท่อแต่ละส่วนนั้นต้องมีฉลากระบุเพื่อความสะดวกในการทราบว่าต้องนำไปติดตั้งที่บริเวณไหน หรือเป็นส่วนประกอบชิ้นใดในระบบเดินท่อที่ซับซ้อน

ในกระบวนการติดตั้งโครงสร้างท่อส่วนต่างๆนั้นต้องมีการเชื่อมรอยต่อในสถานที่จริงเพื่อเชื่อมส่วนต่างๆที่ถูกประกอบเอาไว้ล่วงหน้าให้กลายเป็นโครงสร้างเดียวกันที่มีขนาดใหญ่ ในกรณีนี้ผู้ออกแบบหรือผู้ติดตั้งต้องเลือกใช้การเชื่อมภาคสนาม 2 ประเภท ประเภทแรกคือการเชื่อมภาคสนามแบบทั่วไป (FW) และอีกประเภทหนึ่งคือการเชื่อมภาคสนามแบบปิด (FCW)

▪ FW หมายถึงการเชื่อมที่ส่วนปลายท่อนั้นสามารถนำชิ้นส่วนอื่นมาวางต่อและเชื่อมให้ติดกันได้เลยโดยไม่ต้องทำการปรับแต่งเพิ่มเติมในระหว่างการติดตั้งในสถานที่จริง  

▪ FCW มีความยาวเพิ่มขึ้นมา 100 ถึง 150 มม. มากกว่าที่กำหนดไว้ในแบบแปลน เพื่อให้ผู้ติดตั้งสามารถปรับแต่งท่อได้ตามความจำเป็นระหว่างการติดตั้งในสถานที่จริง  

สรุป
ผู้รับเหมาแต่ละรายเลือกใช้การประกอบท่อภาคสนามหรือการประกอบท่อในห้องปฏิบัติงานด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป บางรายถนัดการประกอบล่วงหน้าในห้องปฎิบัติงาน บางรายถนัดการประกอบในสถานที่จริง หรือหากผู้รับเหมามีความยืดหยุ่นในการทำงานก็สามารถผสานทั้งสองวิธีเข้าด้วยกันได้

ที่มา
http://www.wermac.org/documents/fabrication_field.htm http://www.wermac.org/documents/fabrication_shop.html

01-nssteel_co_th-Phanchit

บทความที่น่าสนใจ

ติดตามเราได้ตามช่องทางนี้
Line บริษัท เอ็น เอส สตีล จำกัด | นำเข้า-จำหน่ายปลีก-ส่ง ท่อเหล็กดำ Facebook บริษัท เอ็น เอส สตีล จำกัด | นำเข้า-จำหน่ายปลีก-ส่ง ท่อเหล็กดำ whatapp บริษัท เอ็น เอส สตีล จำกัด | นำเข้า-จำหน่ายปลีก-ส่ง ท่อเหล็กดำ
บริษัท เอ็น เอส สตีล จำกัด | นำเข้า-จำหน่ายปลีก-ส่ง ท่อเหล็กดำ

บริษัท เอ็น เอส สตีล จำกัด
N.S.STEEL CO.,Ltd.​

705, 707, 709, 711 ถนนเจริญกรุง
แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์
กรุงเทพฯ 10100​Heading

E-mail : ติดต่อทางอีเมล Click

ดูเบอร์โทร Click

Design by Genius
© 2021 nssteel.co.th All rights reserved​